ข่าวสาร/บทความ
ความแตกต่างระหว่าง แผ่นซับเสียง และ ฉนวนกันเสียง
ผู้แต่ง: Admin Audiocityความแตกต่างระหว่าง แผ่นซับเสียง และ ฉนวนกันเสียง
แผ่นซับเสียง
แผ่นซับเสียงสำหรับผนังตกแต่งดูดซับเสียง เป็นแผ่นบุผนังสำเร็จรูปที่มีคุณสมบัติพิเศษในการลดเสียงก้องหรือดูดซับเสียงหุ้มด้วยผ้าที่พิมพ์ลายพิเศษ แผ่นซับเสียง สำหรับผนังตกแต่งดูดซับเสียง สำหรับบุผนังเพื่อดูดซับเสียงและตกแต่งผนังผลิตจากแผ่นกลาสวูลขึ้นรูปเป็นแผ่นแข็ง น้ำหนักเบา หุ้มด้วยผ้าสีสันสวยงาม ตอบโจทย์ทุกสไตล์การตกแต่ง ติดตั้งง่าย เหมาะสำหรับ ห้องนั่งเล่น ห้องโฮมเธียร์เตอร์ ห้องฟังเพลง ห้องประชุม ห้องอัดเสียง ห้องซ้อมดนตรี ห้องคาราโอเกะและอื่นๆ
หลักการทำห้องเก็บเสียง
ผู้แต่ง: Admin Audiocityหลักการทำห้องเก็บเสียง Sound recording studio
หลักการทำห้องเก็บเสียง
1. ควรทำผนัง 2 ชั้น และเว้นช่องว่างระหว่างผนังประมาณ 5-10 ซม. เพื่อใส่แผ่นโฟมฉนวนกันเสียง (PE FOAM BOARD) แผ่นเรียบชนิด Closed cells ควรเว้นระยะห่างของผนังชั้นที่ 2 ไม่ให้ติดกับแผ่นฉนวนประมาณ 5-8 ซม. เพื่อลดการเดินทางผ่านวัตถุของคลื่นเสียง เป็นการป้องกันเสียงไม่ให้รอดผ่านออกไปได้2. เมื่อก่อผนังชั้นที่ 2 แล้ว ควรติดแผ่นซับเสียงอีกชั้น เพื่อเป็นการซับเสียงดังกึกก้องไม่ให้สะท้อน ช่วยทำให้ได้ยินเสียงชัดเจนขึ้น และลดการเกิดเสียงดังกึกก้องแผ่นซับเสียงสะท้อนมีลายชนิด ขึ้นอยู่กับการใช้งานของห้องนั้นๆ เช่น
ฟองน้ำซับเสียง ( Acoustic Foam )
แผ่นซับเสียงอะคูสติคบอร์ด ( Acoustic Board )
แผ่นซับเสียงพีอีโฟม (Acoustic PE FOAM - M SORB)3. ควรปูพรมที่พื้นเพื่อลดการสะท้อนเสียง และช่วยซับเสียงภายในห้องพรมปูพื้นมีหลายแบบ เช่น พรมอัดลูกฟูก พรมอัดไหม พรมทอเครื่อง พรมปูพื้นแบบแผ่น Carpet tiles ควรเลือกใช้พรมแบบที่มีขนหนาหรือแบบขนห่วง
อะไรคือ eARC และแตกต่างจาก ARC อย่างไร ?
ผู้แต่ง: Admin Audiocityอะไรคือ eARC และแตกต่างจาก ARC อย่างไร?
eARC ย่อมาจาก Enhanced Audio Return Channel เป็น’เวอร์ชันที่ปรับปรุงแล้วของ ARC ( Audio Return Channel แบบธรรมดา)
eARC รองรับการส่งสัญญาณเสียงไปยังทีวีจากอุปกรณ์เคเบิลทีวี ดาวเทียม สตรีมมิ่ง หรือส่งจากอุปกรณ์แหล่งสัญญาณไปยัง AVR หรือซาวด์บาร์ผ่านสายเชื่อมต่อ HDMI เพียงเส้นเดียว วิธีนี้ช่วยลดความยุ่งยากในการเชื่อมต่อ และผู้ใช้จะได้สัมผัสกับเสียงต้นฉบับอย่างแท้จริง
SPL คืออะไร ? ค่า SPL ของเสียงต่างๆ และค่า SPL ของลำโพงที่ควรรู้
ผู้แต่ง: Admin AudiocitySPL คืออะไร ? ค่า SPL ของเสียงต่างๆ และค่า SPL ของลำโพงที่ควรรู้
สิ่งที่เราได้ยินได้สัมผัสทางหูของเราทุกวันมีความดังประมาณกี่ dB (เดซิเบล) กันบ้าง เรามาทำความรู้จักกันเพื่อเสริมสร้างความรู้ของเรา เกร็ดความรู้ SPL คืออะไร ? ค่า SPL ของเสียงต่างๆ และค่า SPL ของลำโพงที่ควรรู้ ไปพร้อมกันเลยครับ
SPL ย่อมาจากคำว่า “Sound Pressure Level” (ซาวด์เพรสเชอร์เลเวล) มีหน่วยวัดค่าความดังสูงสุดของเสียงใช้หน่วยวัดเป็น dB ไม่มีกำหนดค่ามาตรฐานถ้า SPL ยิ่งมีค่าที่มาก หมายถึงความดังเสียงที่ดังเพิ่มขึ้น และในขณะเดียวกัน ถ้า SPL ยิ่งมีค่าที่น้อย หมายถึงความดังเสียงที่มีความดังลดลงAudio Interface คืออะไร? ทำหน้าที่อะไร?
ผู้แต่ง: graphic2 graphic2Audio Interface คืออะไร? ทำหน้าที่อะไร?
Audio Interface เป็นอุปกรณ์ที่มีผลโดยตรงกับคุณภาพเสียง ซึ่งหน้าที่ของ Audio interface คือ
Audio Interface คือ อุปกรณ์สำหรับบันทึกเสียง และแปลงสัญญาณอนาล็อกเป็นสัญญาณดิจิตอล ซึ่งปัจจุบันมีให้เลือกมากมายหลายรุ่นหลายยี่ห้อ รวมถึงราคาและคุณภาพก็แตกต่างกันออกไป
ระบบเสียง ดอลบี แอทโมส Dolby Atmos
ผู้แต่ง: Jeab Terminalระบบเสียง ดอลบี แอทโมส dolby atmos
ดอลบี แอทโมส (อังกฤษ: Dolby Atmos) เป็นชื่อของระบบเสียงสำหรับโรงภาพยนตร์ระบบหนึ่งที่พัฒนาขึ้นโดยดอลบี แลบอราทอรี่ เปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือนเมษายน พ.ศ. 2555 โดยภาพยนตร์เรื่องนักรบสาวหัวใจมหากาฬ ของค่ายดิสนีย์ และพิกซาร์ ถือเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของโลกที่ใช้ระบบเสียงนี้ โดยออกฉายที่โรงภาพยนตร์ดอลบี เธียเตอร์ ในเขตฮอลลีวูด รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ครั้งแรกในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 โดยได้รับเสียงตอบรับจากผู้ชมและผู้ให้บริการอย่างมาก จนมีการขอซื้อลิขสิทธิ์ไปติดตั้งอย่างล้นหลาม โดยใน พ.ศ. 2556 มีโรงภาพยนตร์ระบบเสียงดอลบี แอทโมสเปิดใหม่ในปีเดียวกว่า 300 โรงภาพยนตร์
มาตรฐาน IP (Ingress Protection Rating)
ผู้แต่ง: graphic2 graphic2มาตรฐาน IPX4, IPX7, IP67 กันฝุ่น กันน้ำได้อย่างไรบ้าง?
มาตรฐาน IP (IP Rating, IP Code, IP Standard) ชื่อเต็ม International Protection Standard คือ มาตรฐานที่บ่งบอกว่า อุปกรณ์ต่างๆ เช่น ลำโพงพกพา, หูฟังออกกำลังกาย ของเรานั้นสามารถป้องกันของแข็ง และของเหลวได้ในระดับไหน ซึ่งตัวเลข 2 หลัก ที่อยู่ด้านหลังของรหัส IP ก็คือ ตัวเลขที่บอกระดับการป้องกันของแข็ง และของเหลวนั่นเอง มาตรฐาน IP (Ingress Protection Rating)
ว่ากันด้วยเรื่องของมาตรฐาน IP ที่เราสมารถพบเห็นได้ทั่วไปจากอุปกรณ์, ผลิตภัณฑ์, หรือเครื่องเสียงต่างๆ หลายคนอาจจะสงสัยว่ามันคืออะไรกันแน่ เวลาอ่านข้อมูลของสินค้าแล้วไปเจอคำว่า IPX4, IP65, IP67 ฯลฯ วันนี้ Audiocity จะพาไปทำความรู้จักกับมาตรฐานตรงนี้กันดีกว่า เพื่อที่เวลาเพื่อนๆซื้อสินค้าไปใช้งานจะได้ซื้ออย่างถูกวัตถุประสงค์และใช้สินค้าได้อย่างมั่นใจ มาตรฐาน IP ก็คือ International Protection Standard เป็นมาตรฐานที่บ่งบอกว่าอุปกรณ์ตัวนั้น สามารถป้องกันของแข็งและของเหลวได้ในระดับไหน โดยเลขตัวแรกจะบอกถึงระดับการป้องกันของแข็ง และเลขตัวสุดท้ายจะยอกถึงระดับการป้องกันของเหลว
D.I. Box (Direct Injection box)
ผู้แต่ง: graphic2 graphic2การต่อลำโพงเสียงตามสายผ่านวอลลุ่มคอนโทรล (แบรนด์ TOA)
ผู้แต่ง: graphic2 graphic2ความถี่เสียงของแต่ละเครื่องดนตรี อยู่ช่วงไหนบ้าง?
ผู้แต่ง: graphic2 graphic2
- คุณกำลังอ่านหน้า 1
- หน้า 2
- หน้า 3
- หน้า 4
- หน้า 5
- หน้า ถัดไป