SPL คืออะไร ? ค่า SPL ของเสียงต่างๆ และค่า SPL ของลำโพงที่ควรรู้

SPL คืออะไร? ค่า SPL ของเสียงต่างๆ และค่า SPL ของลำโพงที่ควรรู้

สิ่งที่เราได้ยินได้สัมผัสทางหูของเราทุกวันมีความดังประมาณกี่ dB (เดซิเบล) กันบ้าง เรามาทำความรู้จักกันเพื่อเสริมสร้างความรู้ของเรา เกร็ดความรู้ SPL คืออะไร ? ค่า SPL ของเสียงต่างๆ และค่า SPL ของลำโพงที่ควรรู้ ไปพร้อมกันเลยครับ SPL ย่อมาจากคำว่า “Sound Pressure Level” (ซาวด์เพรสเชอร์เลเวล) มีหน่วยวัดค่าความดังสูงสุดของเสียงใช้หน่วยวัดเป็น dB ไม่มีกำหนดค่ามาตรฐานถ้า SPL ยิ่งมีค่าที่มาก หมายถึงความดังเสียงที่ดังเพิ่มขึ้น และในขณะเดียวกัน ถ้า SPL ยิ่งมีค่าที่น้อย หมายถึงความดังเสียงที่มีความดังลดลง

SPL ของเสียงคืออะไร?

SPL (Sound Pressure Level) เป็นการวัดความดังหรือความแรงของเสียงในหน่วยของเดซิเบล (dB) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ใช้ในการวัดความดันเสียงที่สั่นสะเทือนได้ หรือที่เรียกว่าระดับความดังของเสียง ค่า SPL บอกเราว่าเสียงนั้นดังแค่ไหนเมื่อเปรียบเทียบกับความดันอ้างอิงมาตรฐาน

  1. ความหมายของ SPL หรือระดับความดันเสียง วัดเป็นเดซิเบล (dB) และใช้เป็นมาตรฐานในการวัดความดังหรือความแรงของเสียง ซึ่งจะแสดงถึงความแตกต่างของความดันเสียงจากความดันเสียงมาตรฐานที่มนุษย์สามารถได้ยินได้ (ประมาณ 20 µPa)
  2. การวัด SPL ทำได้โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า เครื่องวัดระดับเสียง (Sound Level Meter) ซึ่งจะวัดความดันเสียงที่สั่นสะเทือนในอากาศและแปลงเป็นค่าเดซิเบล
  3. ความสำคัญของ SPL  มีความสำคัญในหลายด้าน เช่น ในงานออกแบบระบบเสียง การควบคุมเสียงรบกวนในสภาพแวดล้อมทำงาน หรือการป้องกันความเสียหายต่อการได้ยินจากเสียงที่มีระดับความดังสูงเกินไป
  4. ค่า SPL ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ การได้ยินของมนุษย์อยู่ในช่วง SPL ประมาณ 0 dB (เกณฑ์การได้ยินต่ำสุด) ถึง 120 dB (เสียงที่ดังมากจนสามารถทำให้เกิดความเสียหายในการได้ยิน) การรับฟังเสียงที่มี SPL สูงเกินไปอย่างต่อเนื่องสามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพ เช่น การสูญเสียการได้ยิน
  5. SPL ในการใช้งานทางเทคนิค ในการออกแบบระบบเสียงหรือในงานวิศวกรรมเสียง SPL มีบทบาทสำคัญในการกำหนดคุณภาพเสียงและประสิทธิภาพของระบบเสียง ความรู้เกี่ยวกับ SPL ช่วยให้วิศวกรสามารถเลือกอุปกรณ์และปรับแต่งระบบเสียงให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและความต้องการของผู้ใช้

การทำความเข้าใจ SPL และการใช้งานของมันอย่างถูกต้องจึงมีความสำคัญในการสร้างและจัดการสภาพแวดล้อมที่มีเสียงในระดับที่เหมาะสม ทั้งในด้านการเพลิดเพลินและสุขภาพการได้ยิน

 

 

ตัวอย่าง. ความดังทั่วๆไปที่เราได้ยิน มาดูกันว่ามีอะไรบ้างและมีความดังกี่ เดซิเบล

 

- เสียงลมหายใจ 10 dB
- เสียงกระซิบกัน 20 dB
- เสียงฝนตกเบาๆ 50 dB
- เสียงพูดคุยทั่วๆไป 60 dB
- เสียงนกหวีดประมาณ 85 dB
- เสียงเครื่องจักรจากโรงงาน 100 dB
- เสียงดนตรีสดเปิดเพลงแดนซ์ในผับ 110 dB
- เสียงคอนเสิร์ตแนวเพลงร็อคประมาณ 120-130 dB
- เสียงเครื่องบิน เจ็ท ซึ่งมีความดังสูงมากประมาณ 140-145 dB

คำเตือนข้อควรระวัง
dB ที่ไม่ควรรับฟังต่อเนื่องเพราะจะทำให้ปวดหูและเป็นอันตรายได้คือระดับ 85 -130 dB ขึ้นไป
เมื่อสังเกตุว่าจะ มีความดังตามระดับเรื่อยๆ จากความดังที่ระดับ 10 dB จนถึงความดังระดับสูงสุด คือ 140 -145 dB

ในสเปคของลำโพง จะมีบอกให้กำลังวัตต์เท่าใหร่ เช่น ลำโพง “JJB” มีกำลังวัตต์ 400/800/1200 วัตต์ ตอบสนองความถี่ เช่น 56 Hz-20KHz (Hz เฮิร์ต) (Khz กิโลเฮิร์ต)
ความไวตอบสนอง SPL (Sensivity) 99 dB 1 วัตต์ / 1 เมตร

1 วัตต์ / 1 เมตร คือ (ป้อนกำลังวัตต์ 1 วัตต์ให้กับลำโพงและวัดระยะห่างจากลำโพง 1 เมตรก็จะได้ค่าความดัง SPL ซาวด์เพรสเชอร์เลเวล

Sound Pressure Level ซึ่งมีหน่วยเป็น dB) และมีความไวตอบสนองสูงสุดแม็กซิมั่ม (Maximum spl 129 dB ) เป็นต้น

ขยายความหมายของกำลังวัตต์ลำโพง
บางท่านโดยเฉพาะมือใหม่อาจจะงงหรือสงสัยกับ กำลังวัตต์ของลำโพง เช่น ลำโพง “JJB” มีกำลังวัตต์ 400/800/1200 วัตต์ ทำไมมีถึง 3 ค่ากำลังวัตต์ในลำโพงใบเดียว
เรามาดูความหมายของลำโพง “JJB”แบบละเอียดกันครับ 400 วัตต์ คือ วัตต์ rms Continuous คอนตินิวอัส
เป็นค่าที่ได้จากการทดสอบด้วยการป้อนกำลังขับแบบต่อเนื่องด้วยสัญญาณ Sine Wave ต่อเนื่องติดต่อกันตามเวลาที่กำหนดโดยที่ตู้ลำโพง หรือดอกลำโพงไม่เกิดความเสียหาย
800 วัตต์ คือ วัตต์ Program โปรแกรม เป็นค่าที่มากกว่า RMS Power หนึ่งเท่าตัว ใช้เพื่อเป็นตัวเลขอ้างอิงในการกำหนดค่าพารามิเตอร์ในระบบเสียง (เสียงร้อง เสียงดนตรี หรือการเล่นดนตรีสด) ซึ่งแอมปิจูดของสัญญาณไม่ต่อเนื่อง และไม่นิ่งมีการเคลื่อนไหวขึ้นๆ ลงๆ ตลอด 1200 วัตต์ คือ วัตต์ Peck พีค เป็นค่าสูงสุด (พีค) ที่ตู้ลำโพงหรือดอกลำโพง สามารถรองรับได้ อาจจะเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นค่าที่ทดลองกันใน Lab ว่ารองรับได้ถึงกำลังวัตต์นี้ในเวลาสั้นๆ ไม่กี่วินาที ซึ่งถ้านานเกินไปกำจะทำให้ลำโพงพังเสียหายได้ หรืออาจจะไม่เกิดขึ้นเลย ขึ้นอยู่กับคุณภาพของวัสดุที่ใช้ทำดอกลำโพง